Share on facebook
Share on twitter
Share on email
Share on whatsapp
Share on linkedin
Picture1

วิธีเลือกซื้อเครื่อง CNC ในยุคเศรฐกิจปัจจุบัน

1. เงินในกระปุก หรือ ทุนทรัพย์ – สิ่งแรกที่คุณต้องดูคือเงินที่เรามีอยู่ หรือ ความสามารถในการผ่อนชำระต่อเดือนและเงินดาวน์ แล้วคุณก็สามารถแยกว่าคุณจะซื้อจากค่ายไหน

2. งานที่จะทำ – หลังจากดูงบประมาณแล้ว ตอนนี้ต้องมากำหนดสเปคของเครื่องให้ตรงกับงาน

อย่างเช่น งานทำอะไหล่หรือพาร์ททั่วๆไป สิ่งแรกที่คุณจะต้องทำก็คือดูที่จุดคุ้มทุนและจะคืนทุนเมื่อไหร่ ถ้าเป็นงานระยะยาว 2 ปีขึ้นไปแล้วงานได้ราคา ขอแนะนำเล่นสิ้นค้าที่ทนทานแข็งแรง สำหรับงานงานที่ค่า + / – ลบเยอะๆเครื่องใต้หวันก็เป็นที่นิยมมาก ด้วยราคาที่ไม่สูงจนเกินไป ส่วนเรื่องเลือก BOX WAY หรือ GIUDE WAY นั้นเป็นอีกเรื่องนึง คือสองคอนเซ็ปนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง BOX WAY นั้นดูแลยากแต่ความละเอียด การกินชิ้นงานได้มากกว่าและพริซีชั่นสูงกว่า GUIDE WAY เยอะ แต่จะเสียเรื่องของความเร็วจะเป็นเต่านิดนึง แต่ข้อดีของ GUIDE WAY ดีตรงที่ว่าเวลาทำการซ่อมจะเสร็จเร็วกว่า การซ่อมของ BOX WAY นั้นต้องแป๊ะยางใหม่ ต้องเจียร์หน้ารางไสลด์ใหม่และวิธีการปรับแต่งค่อนข้างยาก แต่ถ้าทำแล้วอายุประมาณ 7 -10 ปี ก็จะทำซักทีนึง หากเป็น GUIDE WAY ประมาณ 2 – 3 ปีก็ต้องเปลี่ยนแล้ว สำหรับงานแม่พิมพ์ เงินจะเป็นตัวระบุว่าจะได้เครื่องเกรดไหน

 

3. สเป็คของเครื่องจักร – ถ้าคุณจะซื้อเครื่อง CNC ยี่ห้อไหนก็ตาม ให้พาข้อมูลว่า เดือนนึงเครื่องรุ่นนี้ประกอบ หรือ ขายกี่ตัว หากขายเยอะ อะไหล่ที่ผู้ผลิตเครื่องสั่งทำจะเยอะตามไปด้วย

3.1 ระบบของหัวจับชิ้นงาน หรือ หัว SPINDLE

ระบบขับด้วยสายพาน ( BELT TYPE ) ถือว่าเป็นระบบที่ง่ายและมีประสิทธิภาพ ถ้ามอเตอร์กำลังขับเยอะ สายพานก็จะเยอะตาม ดูแลรักษาง่าย การซ่อมก็ง่ายไม่ยุ่งยาก แต่จะเสียในเรื่องของการเริ่มขับและตอนเบรกจะใช้เวลามากกว่าระบบอื่นนิดนึง การกัดงานและผิวจะดีได้ระดับนึง

ระบบเกียร์ ( GEAR TYPE) เป็นระบบที่เครื่องรุ่นใหญ่จะใช้กัน เน้นงานกัดปริมาณเยอะ ทอร์คของเครื่องจะสูง สำหรับงานเปิดผิว หรือขุดพอกเก็ตท์ แต่จะไม่ดีสำหรับงานที่ต้องใช้รอบสูง เพราะมีขีดจำกัดเรื่องรอบ

ระบบขับตรงโดยใช้ชุดต่อ หรือชุดเฟืองเสียบตรง (DIRECT DRIVE) ระบบนี้ส่วนมากจะใช้กับเครื่อง MACHINING CENTER จะได้ในเรื่องของทอร์ค จะดีกว่าระบบสายพาน การกัดงานผิวจะดีกว่า และกัดหนักได้ดีเยี่ยม แต่จะเสียในเรื่องของการเริ่มขับและตอนเบรกจะเหมือนกับระบบสายพาน จะดีตรงที่ไม่ต้องเปลี่ยนสายพาน

ระบบขับตรง หรือ แบบมอเตอร์อยู่ด้านในหัวหมุน (DIRECT DRIVE WITH BUID-IN MOTOR) เป็นระบบที่อัจฉริยะมาก ทุกอย่างสมบูรณ์แบบ กัดได้หนัก ผิวดี ขึ้นลงของรอบได้เร็ว แต่การบำรุงรักษาค่อนข้างยาก ขออย่างเดียวอย่าให้ชนล่ะกัน ถ้าชนล่ะก็หัวนี้เป็นแสน ถึงแสนสาหัส การเปลี่ยนอุปกรณ์ภายในทำได้ยาก ทำได้แต่จะไม่ดีเท่ากับของเดิม เครื่องจักรจากญี่ปุ่นตอนนี้เป็นระบบนี้หมดแล้ว หากรอบสูงมาก อายุการใช้งานก็มีขีดจำกัดอย่างเช่น อาจจะ 100,000 ชั่วโมงต้องเปลี่ยน Spindle Unit หลายๆท่านคงเคยเจอมาแล้ว ส่วนใหญ่คนขายเขาจะไม่บอกจุดด้อยกันหรอก จะบอกเฉพาะจุดเด่นเท่านั้น

3.2 ระบบป้อมมีดสำหรับเครื่องกลึง CNC

เครื่องยุคปี 80 และ 90 ส่วนมากเป็นแบบ คอบปริ้งค์ 2 ตัวประกบกัน แต่จะยากสำหรับงานซ่อมเพราะต้องถอดออกมาแล้วเปลี่ยน Taper Pin ใหม่ทั้งสองตัว แต่เครื่องยุคปี 2000 จะนิยมใช้แบบ คอบปริ้งค์ 3 ตัว ซึ่งง่ายเวลาปรับ โดยจะนิยมใช้เป็น Pin เยื้องศูนย์เป็นตัวปรับ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน Taper Pin เพราะว่าไม่มี เวลาซ่อมไม่จำเป็นต้องถอดหัว ส่วนมากจะใช้ระบบ SERVO MOTOR มาขับแทนระบบ ไฮโดรลิคมอเตอร์ แต่ถ้าเป็นเครื่องจากใต้หวันยังใช้ระบบเก่าอยู่ แต่อาจจะมีบางยี่ห้อที่ใช้ Servo Motor แต่เป็นคอบปริ้งค์ 2 ตัวประกบกัน

3.3 ลูกตุ้มถ่วงน้ำหนัก

ต้องยอมรับอย่างนึงว่า ระบบของญี่ปุ่นสมัยใหม่นั้น จะไม่มีลูกตุ้มถ่วงน้ำหนักอีกต่อไปแล้ว โดยเขาจะดีไซด์ ให้ตัวคอลัมน์ใหญ่กว่าตัวชุดหัวหมุน แล้วใส่ Ball Screw และ Servo Motor ให้ขนาดใหญ่กว่าปกติเพื่อที่จะดึงแกนให้อยู่ไม่ให้ตก ข้อดีของระบบนี้ก็คือเวลาเรากัดงานละเอียด ความระเอียดผิวจะดีกว่ามากและสามารถคอนโทรลค่าได้ดีกว่า ส่วนเครื่องใต้หวันส่วนใหญ่ยังคงใช้ลูกตุ้มหรือไม่ก็ใช้แก๊สเข้ามาเป็นตัวช่วย ส่วนอีกระบบที่นิยมใช้กันก็คือระบบไฮโดรลิค Balance นิยมใช้เฉพาะเครื่องใหญ่ๆความเร็วค่อนข้างช้า ใช้กับเครื่อง High Spped ไม่ได้

3.4 ระบบเปลี่ยน TOOL สำหรับเครื่อง MACHINING CENTER

สำหรับเครื่องญี่ปุ่น ส่วนมากเป็น Random type หรือมี ระบบเก็บ Tool อยู่ข้างๆเครื่อง ระบบนี้ดีมากเพราะว่าไม่เก๊ะกะในเครื่อง การเลือกใช้สามารถเรียก Tool มารอก่อนได้ ส่วนอีกระบบนึงเป็นแบบ ร่ม ระบบนี้ใส่ Tool ยาวไม่ได้เพราะว่าเวลาเลื่อนแกนต้องคำนึงถึงงานที่อยู่ในเครื่องด้วย หาก Tool ยาวไปจะทำให้ Tool ที่ยาวชนกับชิ้นงาน แล้วเวลาเครื่องทำงานเศษโลหะจะกระเด็นเข้าไปติดอยู่กับ Tool ที่เก็บอยู่ในซอง ตอนเรียกก็ต้องเอา Tool เก่าไปเก็บก่อนแล้ว Tool ใหม่ถึงจะเรียกมาได้ ระบบนี้เป็นพิมพ์นิยมของเครื่องไต้หวัน

3.5 ระบบเบรคสำหรับแกนโน้มถ่วงของโลก

ระบบเบรคมีความสำคัญยิ่งสำหรับความปลอดภัยของผู้ปฎิบัติงานกับเครื่องจักร เครื่องจักรทั่วๆไปจะมีอยู่ 2 ชนิด ชนิดแรกจะเป็นแบบ BUID-IN MOTOR เป็นระบบที่ดีมาก เบรคจะอยู่ด้านในมอเตอร์ แต่จะมีปัญหาตอนที่เสียเพราะต้องซื้อมอเตอร์ใหม่ อีกระบบนึงเป็นแบบเบรคไฟฟ้าซึ่งอยู่ติดกับเพลา Ball Screw การทำงานเหมือนกับ BUID-IN MOTOR แต่แตกต่างจากการเปลี่ยนอะไหล่

3.6 ยี่ห้อและขนาดของอุปกรณ์ที่ใช้เช่น Ball Screw, Guide way, Spindle Bearing Diameter, ขนาดของ Motor

อย่างที่เราได้บอกเวลาซื้อของต้องดูยี่ห้อ หากยี่ห้อดี ขนาดใหญ่กว่า นั่นหมายถึงเครื่องที่ดีกว่า อย่ามองแต่ขนาดมอเตอร์อย่างเดียว

3.7 ความเร็วรอบ และขนาดของ Spindle Nose รวมถึงขนาด Taper (BT-30, 40, 50) และ Stroke Limit

4. ยี่ห้อเครื่องจักร และ ศูนย์บริการ รวมถึงระบบคอนโทรล

ไม่ว่าจะเป็นระบบงานขาย งานหลังการขาย และระบบอะไหล่ หากเครื่องจักรเราเป็นอะไร ผู้ขายสามารถซัพพอร์ทเราได้ภายในกี่ชั่วโมง หากต้องรออะไหล่จากต่างประเทศกี่วันถึงจะได้ และที่สำคัญคนซ่อม หากคนซ่อมเยอะจะเป็นการดีสำหรับเรา

สรุปแล้วการเลือกซื้อเครื่อง CNC จะต้องคำนึงถึงเรื่องต่างๆ มากมาย คุณสามารถอ่านบทความ ติดตามข่าวสาร ความรู้เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซด์ของเรา ทางบริษัท เอ็ม.เค.เอส.แมชชีนเนอรี่ จำกัด มีความยินดีให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องจักรอุตสาหกรรมทุกประเภท สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ค่ะ